SEO
SEO

11 วิธีทำ SEO ขั้นพื้นฐานที่คุณก็สามารถทำได้เองง่าย และฟรี!

คำว่า “SEO” เชื่อว่าหลายๆท่านที่ทำธุรกิจทางด้านออนไลน์อยู่ น่าจะต้องรู้จักกันทุกคนนะครับ ส่วนใครที่ยังไม่รู้จักขออธิบายง่ายๆดังนี้ครับ

SEO คือ?

SEO ย่อมาจาก Search Engine Optimize(เห็นชื่อเต็มงงกว่าเดิม) จริงๆอธิบายง่ายๆ มันคือการทำให้เว็บไซท์ของเราขึ้นหน้าแรกๆบน Google นั่นเองครับ

ทำไมต้อง SEO?

เชื่อว่าทุกๆคนที่ทำธุรกิจบนโลกออนไลน์ จะต้องมีความต้องการ ที่จะทำให้เว็บของเราค้นเจอได้ง่ายๆใช่ไหมละครับ เพราะยิ่งเจอง่ายเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสที่คนจะเห็นคุณมากขึ้น แล้วยิ่งคนเจอคุณมากขึ้นก็จะทำให้คุณมีโอกาสเพิ่มลูกค้าได้มากขึ้นยังไงละ เพราะฉะนั้นการ ทำ SEO นับว่าเป็นหัวใจหลักของการทำร้านบนโลกออนไลน์เลยละครับ งั้นเรามาดู 11 ข้อพื้นฐานว่าการ ทำ SEO ดูที่อะไรบ้าง

1

ทุกคนล้วนแล้วแต่อยากขึ้นหน้าแรกกันทั้งนั้น

1. ความเกี่ยวข้องของเนื้อหา

Search engines(การค้นหา) จะพยายามหาสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เราหามากที่สุด ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น คุณพิมพ์คำว่า “ศรรามอายุเท่าไหร่” ตัว Google ก็จะแสดงอายุของศรรามขึ้นมาในทันที โดยที่ไม่ต้องเข้าไปในหน้าเว็บไซต์ให้ยุ่งยาก หรือคำถามอย่างเช่น “ร้านอาหารอร่อย พญาไท” Google ก็จะทำการแสดงร้านอาหารภายในละแวกพญาไทในทันที

2

ละแวกร้านอาหารอร่อยที่ขึ้นมาในทันทีเมื่อเราพิมพ์หาใน Google

เพราะฉะนั้นแล้วเราอาจจะลองเปลี่ยนตัวKeyword(คำ) ให้มีความเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ลูกค้าน่าจะค้นหามากที่สุดดู ก็จะช่วยให้มีโอกาสที่คนจะค้นหาเราเจอได้ง่ายขึ้นเช่นกันครับ

2.คุณภาพของบทความ

บทความของคุณบนเว็บตอนนี้มีคุณภาพดีพอไหม? บทความของคุณสามารถช่วยเหลือคนที่ประสบปัญหาได้หรือไม่? ใช่แล้วการที่เรามีบทความดีๆ ก็มีส่วนช่วยให้เว็บไซต์มีคนเข้ามาเช่นกัน แล้วยิ่งมีคนเข้ามาในเว็บของเรามากๆก็จะทำให้อันดับใน Google ของเราดีขึ้นนั่นเอง

3.User experience(ความพอใจของผู้ใช้กับตัวระบบ)

ถ้าให้อธิบายง่ายๆ User experience เปรียบเสมือน”ความคาดหวังของผู้ใช้งาน”ว่าระบบน่าจะเป็นไปตามที่เขาคิด ยกตัวอย่าง เช่น เวลาที่เราเจอปุ่ม กากบาทตรงมุมบนของจอ เราจะต้องคิดว่าเป็นการปิดเสมอ เป็นต้น หากยังไม่เข้าใจว่าผมหมายถึงอะไร สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.designil.com/7-ux-interaction-design.html เราควรทำให้เว็บมีความง่ายในการใช้งาน และสามารถค้นหาบทความหรือ Link อื่นๆที่อยู่ในเว็บเราได้จริง ทำให้คนอยากอยู่เว็บเรานานๆและมีความต้องการที่จะใช้งานเว็บของเราให้มากขึ้นเรื่อยๆ

4.ความเร็วในการโหลดเว็บไซต์

ความเร็วในการโหลดเว็บไซต์เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญ หากเว็บของเราโหลดช้าจะทำให้คนเข้าใช้งานได้ยาก และอันดับใน Google ก็จะตกตามลงไปด้วย ผมขอแนะนำเว็บไซต์ที่ใช้ในการทดสอบความเร็ว PageSpeed Insights เป็นเครื่องมือที่เราสามารถใช้ทดสอบความเร็วของเว็บไซต์ส่งตรงจาก Google ถมยังบอกเราอีกด้วยว่ามีส่วนไหนที่ทำให้เว็บช้าและควรปรับปรุง ไม่เพียงแต่เรื่องของความเร็วเท่านั้น มันยังสามารถวัดค่า User experience(ความพอใจของผู้ใช้กับตัวระบบ) ได้อีกด้วย(เว็บนี้ดีสุดๆจริงๆ)

5.Responsive design(ทำให้เว็บของเรารองรับทุกเครื่อง)

ยุคนี้เรียกว่ามีสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยนั่นก็คือ Responsive design เพราะในยุคนี้เองผู้คนต่างใช้มือถือในการเข้าสู่เว็บไซต์เป็นอย่างมาก นอกจากสิ่งนี้จะทำให้ลูกค้าของเรานั้นสะดวกสบายแล้ว ยังช่วยให้อันดับใน Google ดีขึ้นอีกด้วย

6.การทำลิ้งค์ให้เชื่อมกับในเว็บของเรา

การทำลิ้งค์เชื่อมระหว่างบทความ เช่นว่าคุณเขียนบทความเกี่ยวกับเรื่อง “อาหารที่แนะนำเหมาะกับคนกำลังลดความอ้วน” แล้วหนึ่งในเมนูพวกนั้นก็มี “สลัดสาหร่ายพวงองุ่น” ซึ่งเราอาจเคยเขียน “วิธีทำสลัดสาหร่ายพวงองุ่น” ไว้ในเว็บของเราอยู่แล้ว ถ้างั้นทำไมเราไม่ลิ้งค์กลับไปหาบทความเก่าให้คนอ่านกลับไปอ่านซะเลยหละ นอกจากจะทำให้ลดตัวเนื้อหาบทความให้ดูกระชับขึ้นแล้ว ยังมีประโยชน์ในอีกหลายๆด้าน 3 ข้อใหญ่ๆได้แก่

ลดโอกาสที่คนจะออกจากเว็บของเรา แน่นอนถ้าคนอ่านเจอเมนูลดความอ้วนที่คุณแนะนำอยู่ แต่ทว่าเขาไม่รู้ว่ามันทำยังไง สุดท้ายแล้วคนอ่านก็จะออกจากเว็บของคุณ แล้วไปหาวิธีทำสลัดสาหร่ายพวงองุ่นแยกอีกที(ทั้งๆที่จริงๆแล้วเว็บของเราเคยเขียนวิธีทำไว้แล้วด้วยซํ้า)

เพิ่มโอกาสให้อันดับดีขึ้นในคำนั้นๆ

ช่วยให้ Google รู้สึกว่าเว็บของเราดูมีประโยชน์และน่าเชื่อถือจริงๆ

7.Authority

Authority Website คือเว็บที่ Google มองว่าน่าเชื่อถือ เป็นเว็บที่มีผู้เยี่ยมชมเยอะ มากในทุกๆวัน ยกตัวอย่างเว็บใหญ่ๆ เช่น Sanook Pantip Thairath ซึ่งสรุปได้ว่าหากเราทำให้เว็บของเรามีผู้เข้าชมมากๆ ก็สามารถช่วยให้ SEO ดีได้เช่นกัน

8.คำอธิบาย Meta และหัวข้อ Tags

จริงๆแล้วการแก้คำอธิบาย Meta ไม่ได้มีส่วนช่วยให้อันดับดีขึ้นเท่าไหร่นักหรอกนะ(อ่าวแล้วจะบอกทำไม) แต่มันเพิ่มโอกาสที่คนจะมาเจอคุณต่างหากละ! เพราะฉะนั้นเราควรใช้เครื่องมือตรงนี้ก่อนปล่อยบทความของเราออกไป

คำอธิบาย Metaคือ?

คำอธิบาย Meta(Meta descriptions) เป็นคำอธิบายสั้นๆที่จะอยู่ด้านล่างของURL เวลาที่เราค้นหาใน Google

3

กรอบสีแดงคือส่วนของ Meta descriptions

meta-description-in-wordpress

ตัวอย่างภาพแก้ไข Meta description ใน WordPress

การเขียน Meta Description แนะนำให้เขียน 156 ตัวอักษรและต้องมั่นใจด้วยว่า หัวข้อของบทความเรามีความเกี่ยวข้องกับ Meta Description ด้วย

-Title Tags

หน้าที่ของ title tags คือใช้ในการบอก search engines กับผู้เข้าชมเว็บไซต์ว่าเว็บของคุณเกี่ยวกับเรื่องอะไรเอาไว้ทำอะไร? Keyword(ตัวหนังสือ)ที่เราพิมพ์ใน title tag จะโชว์ขึ้นมาเมื่อเรา ใส่ tag ที่ตรงกับคำที่มีคนค้นหา

title-tags-in-seo

ตัวอย่างของ Title Tag เมื่อมีคนค้นหาเจอ

ส่วน MakeWebEasy เมนูพวกนี้จะอยู่ในส่วนของ SEO สามารถอ่านต่อได้ที่นี่เลยครับ https://www.makewebeasy.com/blog/2015/10/title-tag/

9.Schema markup

คุณสามารถเพิ่มข้อมูลของเว็บไซต์ของคุณได้ด้วย Schema markup

4

เว็บไซต์ที่มีการใช้ Schema markup ยกตัวอย่างเมื่อหาอาหารอย่างนึง

ถ้าสังเกตุดูดีๆจะมีเวลาที่ใช้ในการทำอาหารเพิ่มเข้ามาด้วย

ส่วนรายละเอียดวิธีทำสามารถอ่านต่อได้ที่ seodummy.com

10.ควรตั้งชื่อรูปทุกครั้ง

คุณเคยใช่ไหมที่ค้นหาภาพใน google เพื่อนำภาพนั้นมาใช้หรือดู แน่นอนว่าภาพของเว็บไซต์คุณก็เช่นกัน คุณควรที่จะตั้งชื่อรูปของคุณให้มีความเกี่ยวข้องกับสิ่งนั้นแล้วค่อย upload ลงบนเว็บไซต์ เพราะมันสามารถช่วยให้ Google รู้จักภาพของเราและคนทั่วไปก็จะสามารถค้นหาเจอได้ง่ายขึ้น

11.Evergreen content(คอนเทนท์ที่มีความน่าสนใจตลอดเวลา)

หลายๆคนอาจจะงงกับคำนี้ ซึ่งจริงๆแล้ว Evergreen content คือ คอนเทนท์ที่มีความน่าสนใจอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานขนาดไหน เช่น เรื่องที่อยู่บนพื้นฐานต่างๆหรือจะเป็น how-to ก็ได้ ยกตัวอย่างหัวข้อ “เว็บไซต์คืออะไร” “วิธีสมัคร E-mail” เป็นต้น ส่วนการเขียนเรื่องอย่างงี้คงต้องใช้ฝีมือกันหน่อยละ ที่สำคัญยิ่งคอนเทนท์ของคุณมีความสดใหม่ก็จะทำให้ติดอันดับได้ดีกว่าเรื่องเก่าๆอย่างแน่นอน

มาถึงตรงนี้ผู้เขียนขอกั้กไว้ก่อน แล้วอีก 11 ข้อที่เหลือ ผมจะนำมาให้ทุกท่านอ่านในภายหลัง(บทความยาว เด่วจะหลับกันซะก่อน) หลังจากที่ทุกท่านอ่านจบแล้ว อยากจะให้ลองเช็คเว็บไซต์ของตนเองดูว่ามีข้อไหนตกหล่นบ้างไหม ผู้เขียนเชื่อว่าถ้าทำตามบทความนี้ถึงแม้ว่าจะแค่11ข้อ แต่จะต้องเห็นผลมากขึ้นพอสมควรอย่างแน่นอน แล้วเจอกันในบทความหน้านะครับ

ภาพจาก dan-nolan.com

ข้อมูลจาก