ทำงานตอนดึก ZZzzz
ทำงานตอนดึก ZZzzz
เชื่อได้เลยไม่ว่าจะเป็นนักเรียน หรือคนทำงาน ต้องเจอการปั่นงานตอนดึกแน่นอน แต่จริงๆๆแล้วมันดีหรือไม่ที่เราต้องอดหลับอดนอนเพื่อทำงาน ถ้ามองในแง่ของผลงาน ????
Ernst Abbe ตีพิมพ์งานวิจัยครั้งแรกในปี 1880 ชี้ให้เห็นว่าการใช้เวลาทำงานประมาณ 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จะได้คุณภาพของงานที่ออกมาอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ว่าถ้ามากกว่านั้นคุณภาพงานจะค่อยๆ ลดลงไปเรื่อยๆ สิ่งนี้ปรากฏชัดในอุตสาหกรรมอย่างการเขียนโปรแกรม ที่พบว่างานที่ออกมาจากคนที่ล้าจากการไม่ได้พักผ่อนมีข้อผิดพลาดมากกว่า และเมื่อมีข้อผิดพลาดมาก ก็ทำให้จำเป็นต้องใช้เวลามากขึ้นไปอีกในการที่จะมานั่งตามแก้ โดยส่วนใหญ่ก็เอาเวลาที่ไม่ได้นอนนั้นในการแก้ไขมันนั่นเอง
นักวิจัยของ UC Berkeley ได้ทำการทดลองโดยใช้เทคนิค MRI (การสแกนสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า) เพื่อดูการทำงานของสมองของกลุ่มวัยรุ่นจำนวน 26 คน โดยให้ครึ่งหนึ่งอดนอนเป็นเวลา 35 ชั่วโมงและส่วนที่เหลือให้นอนหลับตามปกติ ผลที่ออกมาโดยดูจากภาพการทำงานของสมองพบว่า กลุ่มที่อดนอนนั้นมีเส้นเลือดในสมองที่ยุ่งเหยิงไปหมดโดยเฉพาะสมองส่วนอมิกดาลาที่มีหน้าที่ตรวจสอบสิ่งที่เกิดขึ้นกับเราโดยจะส่งสัญญาณไปยังสมองส่วน Prefrontal Cortex ที่เป็นส่วนควบคุมสภาวะอารมณ์และความรู้คิดให้ทำงานช้าลง ในขณะที่ผู้ทดลองอีกกลุ่มมีระบบการทำงานของสมองเป็นปกติ ข้อนี้ยิ่งชี้ให้เห็นว่าการอดนอนจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อระบบความคิด โดยเฉพาะเรื่องการแสดงออกทางอารมณ์ซึ่งจะพึ่งพาเหตุผลน้อยลง ข้อนี้คงทำให้เราหายสงสัยว่าทำไมบางคนถึงรู้สึกโกรธมากเมื่อต้องขับรถในตอนเช้าแล้วเจอคนขับรถแย่ๆ บนท้องถนน ผู้เชี่ยวชาญส่วนมากจึงแนะนำให้คนทั่วไปนอนถึงวันละ 7-8 ชั่วโมง เพื่อเผื่อให้สมองและส่วนต่างๆ ของร่างกายได้พักผ่อนอย่างเพียงพอก่อนจะเริ่มทำงานอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อรู้อย่างงี้แล้ว คุณยังจะทำงานในเวลาดึกอยู่มั้ย ทั้งๆๆที่ทราบว่า งานที่ออกมาก็ไม่ได้คุณภาพเท่าที่ควร ลองกลับไปคิดดูนะจ๊ะ ? 🙂